
ผ้าไทย เป็นหนึ่งภูมิปัญญาไทยที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ และเพื่อขานรับกระแสกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น กลุ่มจังหวัดล้านนา 8 จังหวัดจึงจัดงาน "แต่งสี อวดลาย ผ้าไทยล้านนา" เพื่อปรับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกเข้าสู่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นด้วยการนำผ้าทอพื้นเมืองของทั้ง 8 จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน มาจัดแสดงและจัดจำหน่ายควบคู่ไปด้วยกัน
ปัจจุบันนี้กลุ่มจังหวัดล้านนา 8 จังหวัดต่างให้ความสำคัญกับผ้าทอพื้นเมืองมาก เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาไปสู่การเป็นสินค้าเพื่อการส่งออก ซึ่งผ้าทอพื้นเมืองทั้ง 8 จังหวัดต่างมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกันไป
เริ่มที่ผ้าไหมยกดอก จากจังหวัดลำพูน มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูน ซึ่งมีความละเอียด สวยงาม เนื้อผ้าละเอียด ประณีต สวยงาม ใช้ได้นาน สามารถนำไปตัดเย็บได้ตามต้องการ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เป็นวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกที่มีลวดลายสวยงามแปลกตา วิจิตรบรรจง ที่พระองค์ทรงเรียนรู้จากภาคกลาง กระทั่งการทอผ้าไหมยกดอกเผยแพร่ไปสู่สาธารณชนทั่วไป โดยใช้ระยะเวลาในการทอประมาณ 7-21 วันต่อ 1 ชิ้น
ผ้าทอสร้อยดอกหมาก จังหวัดลำปาง เป็นลายที่ผันคำมาจากลายดอกพร้าว หรือมะพร้าวนั่นเอง โดยในอดีตนั้นทอผ้าเพื่อไว้ใส่เองหรือทำแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการพระราชดำรัสของในหลวง จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจว่าคนอื่นทำได้ก็ควรจะแลกกับเราที่ทำไม่ได้ ชาวบ้านจึงคิดค้นพัฒนาลายผ้าที่นอกเหนือจากลายสร้อยดอกหมาก เช่น ลายพิกุลทอง ราชวัตร เกล็ดเต่า พริกไทย เกล็ดหมาก และล่าสุดคือลายเม็ดฝนขึ้น
ส่วนผ้าทอล้านนาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนคือผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น เริ่มต้นจากการที่สตรีชาวกะเหรี่ยงถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอแก่ลูกสาววัย 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้ ส่วนลวดลายนั้นมีเรื่องเล่าสืบมาว่าได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวจะทอผ้าตามลายที่ปรากฏ 7 วัน 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปักมี 4 ลาย คือ โยห่อกือ เกอเป่ เผลอ ฉุ่ยข่อลอ ลายทีข่า ปัจจุบันยังคงมีลายที่นิยมทอคือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอหรือลายดอกมะเขือ
ด้านผ้าทอไทลื้อ จังหวัดพะเยาและเชียงราย นั้นมาจากชาวไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา โดยชาวไทลื้อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาของตนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา และชีวิตความเป็นอยู่ ผ้าทอไทลื้อคือหนึ่งภูมิปัญญาที่สำคัญ แต่เดิมการทอผ้าส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในครัวเรือน ซึ่งลวดลายยังมีไม่มากนัก เป็นการทอแบบสลับสี มีมุก 2 มุก และมีเกาะ 1 เกาะ ปัจจุบันลายเหล่านี้พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้สวยงามมากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยลายขิด ลายน้ำไหล ลายจก
สำหรับผ้าตีนจก แห่งอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากแหล่งผลิตอื่นๆ รวมถึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของสตรีแม่แจ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เพราะทุกคนต้องมีซิ่นตีนจกอย่างน้อยคนละ 1 ผืนเพื่อใช้นุ่งไปทำบุญ โดยการจกให้เกิดเป็นลวดลายบนผืนผ้านั้นทำโดยใช้ขนเม่นหรือไม้สอดนับเส้นด้านเส้นยืน แล้วใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษจกหรือล้วงสอดสลับด้านสีต่างๆ ลงไปทำให้เกิดเป็นลวดลายคล้ายกับการปักลงบนผืนผ้า
ผ้าม่อฮ่อม จังหวัดแพร่ เป็นผ้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองแพร่มายาวนาน ซึ่งในอดีตผ้าม่อฮ่อมทำจากผ้าทอมือสีขาวที่ผ่านการทอด้วยกี่แล้วนำมาย้อมด้วยสีที่ได้จากการหมักย้อม เอกลักษณ์ของผ้าม่อฮ่อมเมืองแพร่คือ เป็นผ้าฝ้ายที่มีความทนทาน เนื้อผ้ามีน้ำหนักเบา ทำให้สวมใส่สบายไม่ร้อนเกินไป และสีย้อมเข้มทำให้ไม่เปื้อนง่าย ดูแลรักษาง่าย และราคายังไม่แพงเกินไปอีกด้วย
สุดท้ายกับผ้าทอลายน้ำไหล จังหวัดน่าน สันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดการออกแบบลายมาจากชาวไทลื้อ โดยปรากฏประวัติในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ที่วาดลวดลายของผ้าซิ่นผู้หญิง ในรูปเป็นลายผ้าซิ่นทั้งหมดด้วยผ้าทอลายน้ำไหลที่ดัดแปลงมาจากผ้าลายชาวลื้อ สมัยแรกๆ นิยมใช้ไหมเงินและไหมดำด้านลายผ้าตรงส่วนที่เป็นหยักของกระแสน้ำ จากนั้นใช้ลายมุกรูปสัตว์แทรกเพื่อแสดงว่าไม่ได้ลอกแบบของชาวลื้อมาทั้งหมด ผ้าทอลายน้ำไหลไทลื้อเริ่มทอกันครั้งแรกที่บ้านหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน เป็นศิลปะการทอผ้าด้วยมือ สาเหตุที่เรียกผ้าทอลายน้ำไหล เพราะลวดลายที่ทอออกมามีลักษณะเหมือนน้ำไหล แต่ปัจจุบันมีการคิดพลิกแพลงลวดลายต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ปัจจุบันนี้กลุ่มจังหวัดล้านนา 8 จังหวัดต่างให้ความสำคัญกับผ้าทอพื้นเมืองมาก เนื่องจากเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาไปสู่การเป็นสินค้าเพื่อการส่งออก ซึ่งผ้าทอพื้นเมืองทั้ง 8 จังหวัดต่างมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแตกต่างกันไป
เริ่มที่ผ้าไหมยกดอก จากจังหวัดลำพูน มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูน ซึ่งมีความละเอียด สวยงาม เนื้อผ้าละเอียด ประณีต สวยงาม ใช้ได้นาน สามารถนำไปตัดเย็บได้ตามต้องการ เป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เป็นวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ซึ่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี พระธิดาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกที่มีลวดลายสวยงามแปลกตา วิจิตรบรรจง ที่พระองค์ทรงเรียนรู้จากภาคกลาง กระทั่งการทอผ้าไหมยกดอกเผยแพร่ไปสู่สาธารณชนทั่วไป โดยใช้ระยะเวลาในการทอประมาณ 7-21 วันต่อ 1 ชิ้น
ผ้าทอสร้อยดอกหมาก จังหวัดลำปาง เป็นลายที่ผันคำมาจากลายดอกพร้าว หรือมะพร้าวนั่นเอง โดยในอดีตนั้นทอผ้าเพื่อไว้ใส่เองหรือทำแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามโครงการพระราชดำรัสของในหลวง จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจว่าคนอื่นทำได้ก็ควรจะแลกกับเราที่ทำไม่ได้ ชาวบ้านจึงคิดค้นพัฒนาลายผ้าที่นอกเหนือจากลายสร้อยดอกหมาก เช่น ลายพิกุลทอง ราชวัตร เกล็ดเต่า พริกไทย เกล็ดหมาก และล่าสุดคือลายเม็ดฝนขึ้น
ส่วนผ้าทอล้านนาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนคือผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น เริ่มต้นจากการที่สตรีชาวกะเหรี่ยงถ่ายทอดภูมิปัญญากระบวนการผลิตผ้าทอแก่ลูกสาววัย 12-15 ปี เริ่มจากแบบง่ายๆ ฝึกฝนจนชำนาญ และสามารถออกแบบลวดลายด้วยตนเองได้ ส่วนลวดลายนั้นมีเรื่องเล่าสืบมาว่าได้มาจากลายหนังงูใหญ่ ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง โดยงูจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวจะทอผ้าตามลายที่ปรากฏ 7 วัน 7 ลาย แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปักมี 4 ลาย คือ โยห่อกือ เกอเป่ เผลอ ฉุ่ยข่อลอ ลายทีข่า ปัจจุบันยังคงมีลายที่นิยมทอคือ เกอแนเดอ หรือลายรังผึ้ง และเซอกอพอหรือลายดอกมะเขือ
ด้านผ้าทอไทลื้อ จังหวัดพะเยาและเชียงราย นั้นมาจากชาวไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองปันนา โดยชาวไทลื้อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาของตนไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ภาษา และชีวิตความเป็นอยู่ ผ้าทอไทลื้อคือหนึ่งภูมิปัญญาที่สำคัญ แต่เดิมการทอผ้าส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในครัวเรือน ซึ่งลวดลายยังมีไม่มากนัก เป็นการทอแบบสลับสี มีมุก 2 มุก และมีเกาะ 1 เกาะ ปัจจุบันลายเหล่านี้พัฒนาเปลี่ยนแปลงให้สวยงามมากขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยลายขิด ลายน้ำไหล ลายจก
สำหรับผ้าตีนจก แห่งอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากแหล่งผลิตอื่นๆ รวมถึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของสตรีแม่แจ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย เพราะทุกคนต้องมีซิ่นตีนจกอย่างน้อยคนละ 1 ผืนเพื่อใช้นุ่งไปทำบุญ โดยการจกให้เกิดเป็นลวดลายบนผืนผ้านั้นทำโดยใช้ขนเม่นหรือไม้สอดนับเส้นด้านเส้นยืน แล้วใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษจกหรือล้วงสอดสลับด้านสีต่างๆ ลงไปทำให้เกิดเป็นลวดลายคล้ายกับการปักลงบนผืนผ้า
ผ้าม่อฮ่อม จังหวัดแพร่ เป็นผ้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับเมืองแพร่มายาวนาน ซึ่งในอดีตผ้าม่อฮ่อมทำจากผ้าทอมือสีขาวที่ผ่านการทอด้วยกี่แล้วนำมาย้อมด้วยสีที่ได้จากการหมักย้อม เอกลักษณ์ของผ้าม่อฮ่อมเมืองแพร่คือ เป็นผ้าฝ้ายที่มีความทนทาน เนื้อผ้ามีน้ำหนักเบา ทำให้สวมใส่สบายไม่ร้อนเกินไป และสีย้อมเข้มทำให้ไม่เปื้อนง่าย ดูแลรักษาง่าย และราคายังไม่แพงเกินไปอีกด้วย
สุดท้ายกับผ้าทอลายน้ำไหล จังหวัดน่าน สันนิษฐานว่ามีต้นกำเนิดการออกแบบลายมาจากชาวไทลื้อ โดยปรากฏประวัติในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ ที่วาดลวดลายของผ้าซิ่นผู้หญิง ในรูปเป็นลายผ้าซิ่นทั้งหมดด้วยผ้าทอลายน้ำไหลที่ดัดแปลงมาจากผ้าลายชาวลื้อ สมัยแรกๆ นิยมใช้ไหมเงินและไหมดำด้านลายผ้าตรงส่วนที่เป็นหยักของกระแสน้ำ จากนั้นใช้ลายมุกรูปสัตว์แทรกเพื่อแสดงว่าไม่ได้ลอกแบบของชาวลื้อมาทั้งหมด ผ้าทอลายน้ำไหลไทลื้อเริ่มทอกันครั้งแรกที่บ้านหนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน เป็นศิลปะการทอผ้าด้วยมือ สาเหตุที่เรียกผ้าทอลายน้ำไหล เพราะลวดลายที่ทอออกมามีลักษณะเหมือนน้ำไหล แต่ปัจจุบันมีการคิดพลิกแพลงลวดลายต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย